วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ข้อสังเกตุ 10 ประการว่าจะท้อง

สำหรับผู้ที่ใจร้อน หากคุณรู้สึกไม่แน่ใจว่าตนเองตั้งครรภ์หรือไม่ลองสังเกตตามอาการ 10 ข้อนี้ อาการเหล่านี้เป็นอาการทั่วไปที่บอกเป็นนัยๆ ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์เท่านั้น แต่อย่าลืมนะคะว่าแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะเป็นครบทุกอาการที่กล่าวมา แต่บางคนอาจมีเพียงข้อสองข้อเท่านั้น

1. มีเลือดไหลกะปริดกะปรอยออกจากช่องคลอด หรือปวดเกร็งมดลูก 
เมื่อล่วงไปครึ่งหนึ่งของช่วงรอบเดือน คือหลังจากหมดประจำเดือนไปแล้วประมาณ 8-10 วัน และถึงกำหนดมีประจำเดือนครั้งต่อไปไม่นาน คุณอาจจะพบเลือดไหลกะปริดกะปรอยออกมาจากช่องคลอดเป็นจุดสีชมพูจางๆ เนื่องจากในขณะนั้นตัวอ่อนกำลงฝังตัวเข้ากับผนังมดลูก เลือดที่เกิดจากไข่ฝังตัวนี้แตกต่างจากเลือดประจำเดือนตรงที่มีสีอ่อน และมีปริมาณน้อยมากๆ ในขณะที่เลือดประจำเดือนจะมีสีแดงเข้ม มีปริมาณมาก และมีรูปแบบการมาที่แน่นอน คือมาน้อย-มามาก-มาน้อย มดลูกเกร็งตัวก็เป็นอาการอีกอย่างหนึ่งที่พบบ่อยในช่วงแรกของการตั้งครรภ์
คุณแม่จะมีอาการหดเกร็งของมดลูกเหมือนกับเวลามีประจำเดือน จนกว่าถึงเวลาที่ตัวอ่อนจะฝังตัวได้ตำแหน่งที่กระดูกเชิงกรานสามารถรองรับได้ ในช่วง 3-6 เดือนแรก อาการปวดเกร็งมดลูกนี้จะเป็นอยู่ตลอด และจะเป็นมากขึ้นเมื่อออกกำลังกาย, มีเพศสัมพันธ์ หรือเปลี่ยนอิริยาบถในบางครั้ง

2. แพ้ท้อง 
อาการนี้จะเกิดขึ้นในช่วงต้นๆ ของการตั้งครรภ์ คือภายใน 5-10 สัปดาห์หลังการตั้งครรภ์ และจะหายไปเมื่อเข้าช่วงสัปดาห์ที่ 16 คุณจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ และมีน้ำลายมากกว่าปกติ ซึ่งมักเป็นตอนเช้า อาการเวียนศีรษะเกิดจากร่างกายคุณแม่มีปริมาณโลหิตไหลเวียนมากขึ้น มีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ทำให้หัวใจทำงานหนัก แต่เลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลง
เนื่องจากเลือดจำนวนมากถูกกักอยู่ในช่องท้องเพื่อใช้เลี้ยงทารกในครรภ์ นอกจากนี้ทารกในครรภ์ยังต้องการธาตุเหล็กมาก บางครั้งก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของคุณแม่ อีกทั้งการตั้งครรภ์ทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำลงด้วย จึงก่อให้เกิดอาการเวียนศีรษะ ส่วนอาการคลื่นไส้อาเจียนเป็นอาการที่เกิดจากระดับออร์โมนที่สูงขึ้นรวดเร็ว อันส่งผลโดยตรงต่อกระเพาะอาหารค่ะ

3. ฐานเต้านมมีสีเข้มขึ้นกว่าเดิม 
ช่วงต้นๆ ของการตั้งครรภ์ ประมาณช่วงที่คุณคาดว่าจะมีรอบเดือน คุณอาจจะสังเกตเห็นว่าฐานรอบๆ หัวนมจะเริ่มมีสีเข้มและขยายวงกว้างออกมามากขึ้น เชื่อกันว่าสีเข้มนี้จะช่วยให้ทารกเกิดใหม่หาหัวนมดูดได้ง่าย นอกจากนั้น คุณยังอาจสังเกตเห็นว่าเส้นเลือดบริเวณเต้านมกับตุ่มรอบหัวนมเล็กๆ ที่กระจายไปตามฐานนมมีจำนวนและขนาดเพิ่มขึ้นกว่าเดิม โดยฐานเต้านมข้างหนึ่งจะมีตุ่มเหล่านี้ประมาณ 4-28 ตุ่ม

4. คัดและเจ็บหน้าอก เจ็บหัวนม 
ในช่วง 3 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ (หลังจากหระจำเดือนคลาดไปประมาณ 1 สัปดาห์) คุณอาจจะรู้สึกว่าหน้าอกบวมใหญ่ขึ้น เหมือนที่คุณรู้สึกตอนกำลังจะมีรอบเดือน แต่สำหรับผู้ตั้งครรภ์เต้านมจะคัดตึงมากกว่า เพราะเตรียมสร้างน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูก อาการนี้จะหายไปหลังจากตั้งครรภ์ผ่านไป 12 สัปดาห์

5. ปัสสาวะบ่อย 
หลังจากประจำเดือนขาดไป 1-2 สัปดาห์ (หรือในช่วง 3 เดือนแรก) คุณจะพบว่าคุณปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ เนื่องจากปริมาณเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น และมดลูกโตขึ้น จึงต้องการเลือดไปเลี้ยงมดลูกมากกว่าปกติ ทำให้ไตกลั่นกรองปัสสาวะเพิ่มขึ้น ร่างกายจึงปรับตัวให้มีเลือดเพิ่มขึ้น ชีพจรเต้นเร็วขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เลือดผ่านไตมากกว่าเดิม ส่งผลให้ไตกลั่นกรองปัสสาวะออกมากขึ้น อีกเหตุผลหนึ่งคือ ทารกในครรภ์ขยายตัวไปกดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้จุปัสสาวะได้น้อยลง อาการนี้ผ่านไปสักระยะจะเป็นน้อยลงจนจางหายไป เพราะมดลูกอยู่สูงขึ้นไม่มากดทับกระเพาะปัสสาวะ และจะเป็นอีกครั้งเมื่อใกล้คลอด

6. เหนื่อยง่าย 
อาการอ่อนเพลียพบได้ในระยะ 8-10 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เวลาตั้งครรภ์ร่างกายคุณจะเปลี่ยนแปลงระบบเมตาบอลิซึ่ม เพื่อปรับร่างกายให้เหมาะสมกับการเจริบเติบโตของทารก ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วอาการเหนื่อยง่ายนี้จะหายไปในสัปดาห์ที่ 12

7. ท้องผูก 
คุณอาจจะพบว่าท้องไส้ของคุณผิดปกติในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ความผิดปกตินั้นเกิดจากร่างกายผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่มีฤทธิ์ลดประสิทธิภาพการหดตัวของลำไส้ลดลงออกมามากเกินไปในระหว่างตั้งครรภ์

8. อุณหภูมิของช่วงล่างของร่างกายสูงขึ้น 
มั่นใจได้เลยว่าคุณเป็นคุณแม่คนใหม่แน่ ถ้าอุณหภูมิของร่างกายช่วงล่างของคุณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าล่วงเวลาที่ประจำเดือนคุณควรจะมาแล้ว การที่อุณหภูมิช่วงล่างของร่างกายสูงขึ้นแสดงว่าไข่กำลังเดินทางไปตามท่อรังไข่ไปฝังตัวที่มดลูก ซึ่งกระบวนการนี้ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ นี่คือช่วงเวลาที่ร่างกายของคุณรับรู้แล้วว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ เวลาที่ไข่เดินทางออกมาเป็นเวลาที่คุณแม่ส่วนใหญ่พบว่าอุณหภูมิของลำตัวช่วงล่างสูงขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งจะห่างจากครั้งแรกประมาณ 7-12 วัน และมีเลือดคั่งอยู่ที่บริเวณช่วงล่างมาก และการไหลเวียนเลือดไม่ดี คุณแม่จะต้องระวังเส้นเลือดโป่งพองซึ่งเมื่อผนวกกับอาการท้องผูกไปด้วยอาจทำให้เป็นริดสีดวงทวารได้

9. ประจำเดือนขาด 
ถ้าร่างกายคุณเป็นปกติดี นี่อาจจะเป็นสัญญาณแรกที่เป็นเกณฑ์บอกคุณได้ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ ถ้าคุณประจำเดือนขาดและมีอาการอย่างหนึ่งอย่างใดที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ร่วมด้วย คุณก็มั่นใจได้โดยไม่ต้องทดสอบแล้วว่า คุณตั้งครรภ์แน่นอน

10. ผลทดสอบการตั้งครรภ์ที่เป็นบวก 
ถ้าประจำเดือนคุณขาดไปไม่ถึงวันดี แต่คุณอยากรู้แล้วละว่าคุณท้องหรือเปล่า การทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยปัสสาวะจะแม่นยำในช่วง 10-14 วันหลังจากปฏิสนธิ ถ้าคุณทนรอจนถึงเวลาที่ประจำเดือนขาดไม่ได้ การทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยเลือดจะมีผลแม่นยำในช่วงวันที่ 8-10 หลังการปฏิสนธิ ให้พึงระลึกไว้ด้วยว่าผลการทดสอบการตั้งครรภ์ไม่ได้แม่นยำ 100% แม้ว่าจะทดสอบจากเลือดก็ตาม ถ้าคุณได้ผลออกมาเป็นลบ แต่ยังรู้สึกว่าตนเองยังตั้งครรภ์อยู่ ให้ลองทดสอบใหม่หลังจากนั้นอีก 1 สัปดาห์

ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีดจาง ท้องมั้ย ?

การแปลผลชุดทดสอบ   ขอแนะนำข้อมูลเบื้องต้นให้ทราบดังนี้ค่ะ
     - ถ้าเส้นขึ้น 1 ขีด  ไม่ตั้งครรภ์ค่ะ
     - ถ้าเส้นขึ้น 2 ขีด ไม่ว่าจะเข็มหรือจาง แต่ถ้ามองเห็นด้วยตาเปล่าเห็นเป็น 2 ขีด ก็ถือว่าตั้งครรภ์ค่ะ เป็นอายุครรภ์อาจจะยังน้อยอยู่
     - ถ้าไม่ขึ้นแถบสี หมายถึง ชุดทดสอบเสีย 
การใช้ชุดทดสอบถือว่าเป็นการทดสอบเบื้องต้นเท่านั้น ผลของชุดทดสอบที่ได้ กรณีแสดงผลการตั้งครรภ์ แนะนำให้พบคุณหมอในลำดับต่อไป






เพื่อความมั่นใจ สามารถทดสอบซ้ำได้ค่ะ ทั้งนี้การที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจเกิดจากสภาวะร่างกาย มีความเครียด กังวล หรือพักผ่อนไม่เพียงพอค่ะ


เอ้ย เคยอ่านเจอว่า ถ้าขึ้น 2 ขีด จะเข้มหรือจาง ก็ท้องนะ

เย้ๆๆ ดีใจล่วงหน้าเลยนะเทรน ฉานกะลังจะตามปายยยยยย

น้องชายเพิ่งได้ลูกสาวเมื่อเช้านี้ ขอเอารูปมาลงหน่อยเหอะ กำลังเห่อหลานน