วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การกินยาคุม ฉุกเฉิน ...!!



เรื่องของยาคุมฉุกเฉิน!!

1. ยาคุมฉุกเฉิน ใช้ในยามฉุกเฉินเท่านั้น เช่น ถุงยางอนามัยแตก ลืมกินยาคุมปกติ มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้เตรียมตัว หรือไม่รู้ตัวมาก่อนว่าจะโดนฟัน

2.ยาคุมฉุกเฉินป้องกันได้แค่ 70 -80 % เท่านั้น แม้กินครบและถูกต้องแล้ว ก็ยังท้องได้ (ถ้ากินเม็ดเดียวประสิทธิภาพก็ลดลงกว่านี้อีก)

3. เมื่อกินยาคุมฉุกเฉินไปแล้ว 4 - 5 วัน อาจมีเลือดออกอันเป็นผลจากยาได้ แต่ไม่ได้ออกทุกคน บางคนกินไปแล้วไม่มีเลือดก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องสงสัย

4. เลือดที่ออกจากยาคุมฉุกเฉิน เป็นจากตอนกินยา ฮอร์โมนในเลือดสูงพุ่งปรูด พอหยุดกิน ปริมาณฮอร์โมนลดลงอย่างรวดเร็ว ก็จะมีเลือดออกจากการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก ภาษาหมอเรียก withdrawal bleeding อาจออกเล็กน้อยวันสองวัน หรือ 3 - 4 วันก็ได้ ปริมาณอาจเล็กน้อย หรือมากก็ได้

5. เลือดที่ออกหลังกินยาคุมฉุกเฉิน อาจเป็นเลือดรอบเดือนหรือไม่เป็นก็ได้ ไม่มีใครบอกได้แน่นอน

6. กินยาคุมฉุกเฉินไปแล้ว หลังจากนั้นมีเลือดออก จะถือว่ามีรอบเดือน เป็นช่วงปลอดภัย แล้วจะมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันอย่างอื่นไม่ได้ เพราะอาจตั้งครรภ์ได้ อย่าเสี่ยงซ้ำสองอีกครับ ป้องกันซะ

7. กินยาคุมฉุกเฉินไปแล้ว รอบเดือนอาจแปรปรวน จะมาอีกครั้งเมื่อไหร่ ตอบไม่ได้ขึ้นอยู่กับแต่ละคน

8. กินยาคุมฉุกเฉินแล้วมีเลือดออก ก็ไม่ได้แปลว่า ไม่ท้อง อย่าประมาท กินยาแล้วไม่มีเลือดออก ก็ไม่เป็นไร

9.กินยาคุมฉุกเฉินไปแล้วมีเลือดออก แล้วอยากกินยาคุมแบบปกติ (แบบ 21 เม็ด หรือ 28 เม็ด)ก็กินได้ แต่ต้องตระหนักเสมอว่า แผงแรกยังไม่ได้ผลเต็มที่ ควรใช้การคุมกำเนิดอย่างอื่นเสริมร่วมด้วย จนกว่าจะขึ้นแผงที่สอง จึงจะได้ผลแน่นอน




10. ใช้ยาคุมฉุกเฉินไปครั้งหนึ่งแล้วก็ควรตระหนัก หาวิธีคุมกำเนิดแบบอื่นที่มีประสิทธิภาพกว่านี้ได้แล้ว ไม่ใช่กินซ้ำๆซากๆ ชิวิตมีแต่ฉุกเฉินเสมอ

11. ถ้ากินทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์ แล้วอีก 12 ชั่วโมงกินอีกเม็ด ประสิทธิภาพเต็มที่ราว 70-80 % ถ้ากินเม็ดแรกช้ากว่านี้ หรือกินเม็ดหลังช้ากว่า 12 ชั่วโมง ประสิทธิภาพก็ลดลงอีก

12. ถ้ากินยาครบ 2 เม็ดแล้วหลังจากนั้นจะมีเพศสัมพันธ์อีก อย่าถามว่ายาจะมีผลคุมได้ไหม ... ขนาดกินถูกต้องยังคุมไม่ได้ร้อย แล้วอย่างนี้จะเชื่อใจได้อย่างไร

13. ถ้ากินยาช้า เช่น กินหลังร่วม 1 - 2 วัน ประสิทธิภาพก็ลดลงจากข้อข้างต้น (อาจจะสรุปได้ว่าไม่มีผลเรยก้อได้นะค่ะ เพราะถ้าปฏิสนธิภายใน 24 ชั่วโมงนะค่ะ)

14. ระหว่างเม็ดแรกกับเม็ดที่ 2 จะมีเพศสัมพันธ์กี่ครั้งก็ได้ (ถ้าอยากประหยัดและมีแรง)

15. กินยาคุมฉุกเฉินไปแล้ว ถ้าไม่แน่ใจว่าท้องหรือไม่ 3 สัปดาห์หลังกินยาก็ลองตรวจปัสสาวะดู

16. กินยาคุมฉุกเฉิน ไม่ทำให้ตรวจการตั้งครรภ์ด้วยปัสสาวะเกิดการผิดพลาด

17. อาการข้างเคียงที่เขียนไว้ในใบกำกับยา ไม่จำเป็นต้องเกิดกับทุกคน บางคนอาจไม่มีอาการดังกล่าวก็ได้ คนที่ไม่มีอาการดังกล่าว ก็ไม่ได้แปลว่ายาไม่ได้ผล

18. กินยานี้มากๆบ่อยๆ จะมีผลต่อขบวนการของรอบเดือนทำให้รอบเดือนแปรปรวน อาจมาไม่ปกติ หรือไม่มาได้

19. ยาคุมฉุกเฉินที่จำหน่ายในประเทศไทย ยี่ห้อมาดอนน่า (Madonna) กับโพสตินอร์ (Postinor) และ แมรี่พิ้ง (Mary Pink) มีตัวยาเหมือนกันเด๊ะ เพียงแต่ผลิตจากคนละบริษัท ประสิทธิภาพเหมือนกัน

20. ยาคุมฉุกเฉินที่ได้ผลมากที่สุดคือ RU-486 (Mifepristone) ได้ผลถึง 98 % แต่น่าเสียดายที่ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย

21. กินยานี้แล้วมารู้ว่าท้อง ก็ไม่เป็นไร ยาตัวนี้มีฮอร์โมนโปรเจสโตเจนช่วยป้องกันไม่ให้แท้งง่ายๆ

Credit 1 :  http://www.clinicrak.com/faq.html#bcontrol
Credit 2 :  ~♥ Pukpik Jang ♥~

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

เตือนหญิง อย่าใช้ “ยาคุมฉุกเฉิน” เกิน 2 ครั้งในชีวิต



ยาคุมฉุกเฉินนั้นมีทั้งที่เป็นแบบฮอร์โมนผสม และแบบที่มีฮอร์โมนเดี่ยว โดยมีวิธีการกินที่เหมือนกันคือ ต้องกิน 2 ครั้งครั้งแรกภายในเวลา 72 ชั่วโมงหลังจากมีเพศสัมพันธ์  ครั้งที่สอง กินหลังจากที่กินครั้งแรกไปแล้ว 12 ชั่วโมง  โดยสำหรับประเทศไทย จะนิยมใช้ในรูปแบบที่เป็นฮอร์โมนเดี่ยวมากกว่า คือ เป็นยาที่ประกอบด้วย เลโวนอร์เจสเทริล

ถึงแม้ว่าจะกินยาภายใน 72 ชั่วโมง ก็สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 75-89% เท่านั้น เมื่อเทียบกับการกินยาคุมแบบธรรมดา(95-99%)  นอกจากนี้ยังขึ้นกับเวลาที่ได้รับยาเม็ดแรกด้วย โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือในช่วง 12 ชั่วโมงแรกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งช่วงเวลาหลังจากนี้ก็จะมีโอกาสตั้งครรภ์สูงขึ้นเรื่อยๆ



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเอกสาร “ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน” ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าในกล่องยาคุมฉุกเฉิน 1 กล่องจะมียา 2 เม็ด ผู้ใช้ต้องกินทั้ง 2 เม็ด โดยกินเม็ดแรกภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากมีเพศสัมพันธ์ และกินเม็ดที่สองเมื่อครบ 12 ชั่วโมงหลังจากกินเม็ดแรกแล้ว



+ผลข้างเคียงคืออาจจะเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน คลื่นไส้พบได้ 30 -50 % ส่วนอาเจียน พบได้ 15 - 25 % นอกจากนี้อาจมีอาการต่อไปนี้ด้วยในบางคน เช่น เหนื่อย เจ็บหรือคัดเต้านม ปวดศีรษะ ปวดท้อง เวียนหน้า อาการจะหายไปเองภายใน 1- 2 วัน ยาแก้อาเจียนก่อนกินยาคุมฉุกเฉินช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนได้
ยังไม่มีงานวิจัยว่าถ้ากินแล้วอาเจียนภายใน 1 - 3 ชั่วโมง จะต้องกินซ้ำหรือเปล่า ถ้าไม่กินซ้ำจะได้ผลไหม กรณีนี้อาจใช้ยาสอดช่องคลอดแทนกินซ้ำก็น่าจะดีกว่ากินซ้ำ



+การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับรอบเดือน
ยาคุมฉุกเฉินทำให้จำนวนเลือด ระยะเวลาการเป็นรอบเดือน และการเป็นรอบเดือนคราวต่อไป เปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งพบได้ 10 - 15 % รอบเดือนอาจมาเร็วกว่ากำหนด หรืออาจมาช้ากว่ากำหนดก็ได้ ถ้ารอบเดือนมาช้ากว่ากำหนดมักจะมานานวันกว่าที่เคยมา


+ยาคุมฉุกเฉิน หาซื้อได้ที่ไหน
เป็นยาที่ถูกต้องตามกฏหมาย หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ในชื่อ โพสตินอร์ หรือ มาดอนนา หรือร้านขายยาในห้างสรรพสินค้าก็มี ร้านวัตต์สัน ร้านบูท ก็มี ราคา ประมาณ 40 บาท (มาดอนนาถูกกว่าราว 30 บาท) มี 2 เม็ด ต้องกินให้หมดทั้ง 2 เม็ด โดยเม็ดแรกกินเร็วที่สุดจะได้ผลดีที่สุด

+ยาคุมฉุกเฉิน กินแล้วมีเลือดออกทุกคนหรือเปล่า
หลังกินยา 3 - 5 วัน จะมีเลือดออกจากระดับยาที่ลดลงอย่างรวดเร็ว แต่บางคนไม่มีเลือดก็มี ไม่ได้ผิดปกติแต่อย่างใด



+หลังกินแล้ว3 - 5 วันมีเลือดออก ถือว่าไม่ท้องแล้วใช่ไหม
ไม่ใช่ หลังกินยา 3 สัปดาห์ควรตรวจปัสสาวะดูการตั้งครรภ์สักหน่อย เพราะยานี้ได้ผลไม่ถึง 100 %



+หลังกินแล้ว3 - 5 วันมีเลือดออก จะเริ่มกินยาเม็ดคุมกำเนิดแบบปกติได้ไหม
กรณีที่มีเลือดออกหลังกินยาคุมฉุกเฉินแล้วจะเริ่มกินยาเม็ดคุมกำเนิดก็ได้ แต่แผงแรกต้องใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วย เช่นถุงยางอนามัย และเมื่อถึงแผงที่สองยาเม็ดคุมกำเนิดก็มีประสิทธิภาพเต็มที่แล้ว



+อย่าลืมว่า! ยาคุมฉุกเฉินช่วยลดโอกาสในการตั้งครรภ์เท่านั้น
ไม่ได้ช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ใดๆ เลย

+สิ่งที่จะช่วยป้องกันการติดโรคจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ดีที่สุดคือ ถุงยางอนามัย
ซึ่งการใช้ถุงยางเปรียบเสมือนใช้กระสุนนัดเดียวยิงนกได้สองตัว เพราะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ และป้องกันการติดโรคได้ในขณะเดียวกัน

http://flash-mini.com/forums




วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ข้อสังเกตุ 10 ประการว่าจะท้อง

สำหรับผู้ที่ใจร้อน หากคุณรู้สึกไม่แน่ใจว่าตนเองตั้งครรภ์หรือไม่ลองสังเกตตามอาการ 10 ข้อนี้ อาการเหล่านี้เป็นอาการทั่วไปที่บอกเป็นนัยๆ ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์เท่านั้น แต่อย่าลืมนะคะว่าแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะเป็นครบทุกอาการที่กล่าวมา แต่บางคนอาจมีเพียงข้อสองข้อเท่านั้น

1. มีเลือดไหลกะปริดกะปรอยออกจากช่องคลอด หรือปวดเกร็งมดลูก 
เมื่อล่วงไปครึ่งหนึ่งของช่วงรอบเดือน คือหลังจากหมดประจำเดือนไปแล้วประมาณ 8-10 วัน และถึงกำหนดมีประจำเดือนครั้งต่อไปไม่นาน คุณอาจจะพบเลือดไหลกะปริดกะปรอยออกมาจากช่องคลอดเป็นจุดสีชมพูจางๆ เนื่องจากในขณะนั้นตัวอ่อนกำลงฝังตัวเข้ากับผนังมดลูก เลือดที่เกิดจากไข่ฝังตัวนี้แตกต่างจากเลือดประจำเดือนตรงที่มีสีอ่อน และมีปริมาณน้อยมากๆ ในขณะที่เลือดประจำเดือนจะมีสีแดงเข้ม มีปริมาณมาก และมีรูปแบบการมาที่แน่นอน คือมาน้อย-มามาก-มาน้อย มดลูกเกร็งตัวก็เป็นอาการอีกอย่างหนึ่งที่พบบ่อยในช่วงแรกของการตั้งครรภ์
คุณแม่จะมีอาการหดเกร็งของมดลูกเหมือนกับเวลามีประจำเดือน จนกว่าถึงเวลาที่ตัวอ่อนจะฝังตัวได้ตำแหน่งที่กระดูกเชิงกรานสามารถรองรับได้ ในช่วง 3-6 เดือนแรก อาการปวดเกร็งมดลูกนี้จะเป็นอยู่ตลอด และจะเป็นมากขึ้นเมื่อออกกำลังกาย, มีเพศสัมพันธ์ หรือเปลี่ยนอิริยาบถในบางครั้ง

2. แพ้ท้อง 
อาการนี้จะเกิดขึ้นในช่วงต้นๆ ของการตั้งครรภ์ คือภายใน 5-10 สัปดาห์หลังการตั้งครรภ์ และจะหายไปเมื่อเข้าช่วงสัปดาห์ที่ 16 คุณจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ และมีน้ำลายมากกว่าปกติ ซึ่งมักเป็นตอนเช้า อาการเวียนศีรษะเกิดจากร่างกายคุณแม่มีปริมาณโลหิตไหลเวียนมากขึ้น มีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ทำให้หัวใจทำงานหนัก แต่เลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลง
เนื่องจากเลือดจำนวนมากถูกกักอยู่ในช่องท้องเพื่อใช้เลี้ยงทารกในครรภ์ นอกจากนี้ทารกในครรภ์ยังต้องการธาตุเหล็กมาก บางครั้งก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของคุณแม่ อีกทั้งการตั้งครรภ์ทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำลงด้วย จึงก่อให้เกิดอาการเวียนศีรษะ ส่วนอาการคลื่นไส้อาเจียนเป็นอาการที่เกิดจากระดับออร์โมนที่สูงขึ้นรวดเร็ว อันส่งผลโดยตรงต่อกระเพาะอาหารค่ะ

3. ฐานเต้านมมีสีเข้มขึ้นกว่าเดิม 
ช่วงต้นๆ ของการตั้งครรภ์ ประมาณช่วงที่คุณคาดว่าจะมีรอบเดือน คุณอาจจะสังเกตเห็นว่าฐานรอบๆ หัวนมจะเริ่มมีสีเข้มและขยายวงกว้างออกมามากขึ้น เชื่อกันว่าสีเข้มนี้จะช่วยให้ทารกเกิดใหม่หาหัวนมดูดได้ง่าย นอกจากนั้น คุณยังอาจสังเกตเห็นว่าเส้นเลือดบริเวณเต้านมกับตุ่มรอบหัวนมเล็กๆ ที่กระจายไปตามฐานนมมีจำนวนและขนาดเพิ่มขึ้นกว่าเดิม โดยฐานเต้านมข้างหนึ่งจะมีตุ่มเหล่านี้ประมาณ 4-28 ตุ่ม

4. คัดและเจ็บหน้าอก เจ็บหัวนม 
ในช่วง 3 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ (หลังจากหระจำเดือนคลาดไปประมาณ 1 สัปดาห์) คุณอาจจะรู้สึกว่าหน้าอกบวมใหญ่ขึ้น เหมือนที่คุณรู้สึกตอนกำลังจะมีรอบเดือน แต่สำหรับผู้ตั้งครรภ์เต้านมจะคัดตึงมากกว่า เพราะเตรียมสร้างน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูก อาการนี้จะหายไปหลังจากตั้งครรภ์ผ่านไป 12 สัปดาห์

5. ปัสสาวะบ่อย 
หลังจากประจำเดือนขาดไป 1-2 สัปดาห์ (หรือในช่วง 3 เดือนแรก) คุณจะพบว่าคุณปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ เนื่องจากปริมาณเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น และมดลูกโตขึ้น จึงต้องการเลือดไปเลี้ยงมดลูกมากกว่าปกติ ทำให้ไตกลั่นกรองปัสสาวะเพิ่มขึ้น ร่างกายจึงปรับตัวให้มีเลือดเพิ่มขึ้น ชีพจรเต้นเร็วขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เลือดผ่านไตมากกว่าเดิม ส่งผลให้ไตกลั่นกรองปัสสาวะออกมากขึ้น อีกเหตุผลหนึ่งคือ ทารกในครรภ์ขยายตัวไปกดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้จุปัสสาวะได้น้อยลง อาการนี้ผ่านไปสักระยะจะเป็นน้อยลงจนจางหายไป เพราะมดลูกอยู่สูงขึ้นไม่มากดทับกระเพาะปัสสาวะ และจะเป็นอีกครั้งเมื่อใกล้คลอด

6. เหนื่อยง่าย 
อาการอ่อนเพลียพบได้ในระยะ 8-10 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เวลาตั้งครรภ์ร่างกายคุณจะเปลี่ยนแปลงระบบเมตาบอลิซึ่ม เพื่อปรับร่างกายให้เหมาะสมกับการเจริบเติบโตของทารก ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วอาการเหนื่อยง่ายนี้จะหายไปในสัปดาห์ที่ 12

7. ท้องผูก 
คุณอาจจะพบว่าท้องไส้ของคุณผิดปกติในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ความผิดปกตินั้นเกิดจากร่างกายผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่มีฤทธิ์ลดประสิทธิภาพการหดตัวของลำไส้ลดลงออกมามากเกินไปในระหว่างตั้งครรภ์

8. อุณหภูมิของช่วงล่างของร่างกายสูงขึ้น 
มั่นใจได้เลยว่าคุณเป็นคุณแม่คนใหม่แน่ ถ้าอุณหภูมิของร่างกายช่วงล่างของคุณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าล่วงเวลาที่ประจำเดือนคุณควรจะมาแล้ว การที่อุณหภูมิช่วงล่างของร่างกายสูงขึ้นแสดงว่าไข่กำลังเดินทางไปตามท่อรังไข่ไปฝังตัวที่มดลูก ซึ่งกระบวนการนี้ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ นี่คือช่วงเวลาที่ร่างกายของคุณรับรู้แล้วว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ เวลาที่ไข่เดินทางออกมาเป็นเวลาที่คุณแม่ส่วนใหญ่พบว่าอุณหภูมิของลำตัวช่วงล่างสูงขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งจะห่างจากครั้งแรกประมาณ 7-12 วัน และมีเลือดคั่งอยู่ที่บริเวณช่วงล่างมาก และการไหลเวียนเลือดไม่ดี คุณแม่จะต้องระวังเส้นเลือดโป่งพองซึ่งเมื่อผนวกกับอาการท้องผูกไปด้วยอาจทำให้เป็นริดสีดวงทวารได้

9. ประจำเดือนขาด 
ถ้าร่างกายคุณเป็นปกติดี นี่อาจจะเป็นสัญญาณแรกที่เป็นเกณฑ์บอกคุณได้ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ ถ้าคุณประจำเดือนขาดและมีอาการอย่างหนึ่งอย่างใดที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ร่วมด้วย คุณก็มั่นใจได้โดยไม่ต้องทดสอบแล้วว่า คุณตั้งครรภ์แน่นอน

10. ผลทดสอบการตั้งครรภ์ที่เป็นบวก 
ถ้าประจำเดือนคุณขาดไปไม่ถึงวันดี แต่คุณอยากรู้แล้วละว่าคุณท้องหรือเปล่า การทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยปัสสาวะจะแม่นยำในช่วง 10-14 วันหลังจากปฏิสนธิ ถ้าคุณทนรอจนถึงเวลาที่ประจำเดือนขาดไม่ได้ การทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยเลือดจะมีผลแม่นยำในช่วงวันที่ 8-10 หลังการปฏิสนธิ ให้พึงระลึกไว้ด้วยว่าผลการทดสอบการตั้งครรภ์ไม่ได้แม่นยำ 100% แม้ว่าจะทดสอบจากเลือดก็ตาม ถ้าคุณได้ผลออกมาเป็นลบ แต่ยังรู้สึกว่าตนเองยังตั้งครรภ์อยู่ ให้ลองทดสอบใหม่หลังจากนั้นอีก 1 สัปดาห์

ที่ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีดจาง ท้องมั้ย ?

การแปลผลชุดทดสอบ   ขอแนะนำข้อมูลเบื้องต้นให้ทราบดังนี้ค่ะ
     - ถ้าเส้นขึ้น 1 ขีด  ไม่ตั้งครรภ์ค่ะ
     - ถ้าเส้นขึ้น 2 ขีด ไม่ว่าจะเข็มหรือจาง แต่ถ้ามองเห็นด้วยตาเปล่าเห็นเป็น 2 ขีด ก็ถือว่าตั้งครรภ์ค่ะ เป็นอายุครรภ์อาจจะยังน้อยอยู่
     - ถ้าไม่ขึ้นแถบสี หมายถึง ชุดทดสอบเสีย 
การใช้ชุดทดสอบถือว่าเป็นการทดสอบเบื้องต้นเท่านั้น ผลของชุดทดสอบที่ได้ กรณีแสดงผลการตั้งครรภ์ แนะนำให้พบคุณหมอในลำดับต่อไป






เพื่อความมั่นใจ สามารถทดสอบซ้ำได้ค่ะ ทั้งนี้การที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจเกิดจากสภาวะร่างกาย มีความเครียด กังวล หรือพักผ่อนไม่เพียงพอค่ะ


เอ้ย เคยอ่านเจอว่า ถ้าขึ้น 2 ขีด จะเข้มหรือจาง ก็ท้องนะ

เย้ๆๆ ดีใจล่วงหน้าเลยนะเทรน ฉานกะลังจะตามปายยยยยย

น้องชายเพิ่งได้ลูกสาวเมื่อเช้านี้ ขอเอารูปมาลงหน่อยเหอะ กำลังเห่อหลานน